WWF เปิดตัว บทสรุปรายงานสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2016 ฉบับภาษาไทย


🕑 14 ก.ค. 2561
WWF เปิดตัว บทสรุปรายงานสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2016 ฉบับภาษาไทย

มีลิงค์ดาวโหลดให้อ่านด้วยจ้า

ลิงค์ดาวโหลด http://awsassets.panda.org/downloads/lpr_2016_summary_th.pdf

กุมภาพันธ์ 2560กรุงเทพฯ – เป็นประจำทุก ๆ 2 ปี ที่องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF จะได้นำเสนอบทสรุปรายงานสิ่งแวดล้อม Living Planet Report เพื่อสรุปสถานการณ์สิ่งแวดล้อมทั่วโลก ที่อ้างอิงตามผลการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ รวมไปถึงเสนอแนะทางออกในการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยในรายงานฉบับล่าสุด ประจำปี 2016 เป็นการนำเสนอในหัวข้อเรื่อง ความเสี่ยงและการฟื้นฟูสภาพธรรมชาติในโลกยุคใหม่” 


 
เนื้อหาในรายงานประกอบข้อมูลที่น่าสนใจ อาทิ การเตรียมความพร้อมรับมือกับโลกในยุคแอนโทรโปซีน ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพ  ผลกระทบจากการละเมิดขีดความปลอดภัยของโลก (Planetary Boundariesและกรณีตัวของการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก  ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา ปริมาณสัตว์บกและสัตว์น้ำทยอยลดลงอย่างต่อเนื่องถึง60% และคาดว่าในปี 2563 จะมีสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปจากโลกมากถึง 2 ใน 3
 
สำหรับผู้ที่สนใจอ่านเนื้อหาของรายงานเพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลด บทสรุปรายงานสิ่งแวดล้อม Living Planet Report ประจำปี 2016 ฉบับภาษาไทย ได้ที่ http://awsassets.panda.org/downloads/lpr_2016_summary_th.pdf
 
พันธมิตรสำหรับการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อม Living Planet Report
Zoological society of London
ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1826 โดย Zoological society of London (ZSL) คือองค์กรเกี่ยวกับการศึกษา การอนุรักษ์และวิทยาศาสตร์โดยมีเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์สายพันธุ์สัตว์และแหล่งที่อยู่อาศัย
 
Global Footprint Network (GFN)
GFN ได้นำเสนอระบบเศรษฐกิจแบบยั่งยืนด้วยการนำเสนอรอยเท้าระบบนิเวศซึ่งเป็นเครื่องมือในการชี้วัดความยั่งยืน ด้วยความร่วมมือกันทำให้เกิดเครือข่ายสำหรับการสำรวจข้อมูล พัฒนามาตรฐานในการจัดการและนำเสนอกระบวนการตัดสินใจที่จะจัดการทรัพยากรต่างๆเพื่อช่วยให้ระบบเศรษฐกิจของมนุษย์สามารถดำเนินไปได้ภายใต้ระบบนิเวศของโลกที่มีอยู่อย่างจำกัด
 
Stockholm Resilience Centre
เป็นสถาบันวิจัยอิสระและเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยสต็อกโฮล์ม ก่อตั้งขึ้นในปี 2550 ทำการวิจัยเกี่ยวกับการดูแลจัดการระบบนิเวศแวดล้อมทางสังคม (social-ecological systems) โดยเน้นที่การสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืน (Resilience)
 
ขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก (Planetary Boundaries)
คือ กรอบแนวคิดที่เสนอเพื่อป้องกันมหันตภัยทางนิเวศ โดยแบ่งระดับมาตรฐานความปลอดภัยของโลกที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ออกเป็น 9 ข้อ
 
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
สาธิตา สุทธิบงกช
Conservation and Marketing Communication Manager, WWF – ประเทศไทย
อีเมล: sSuttibongkot@wwfgreatermekong.org
โทรศัพท์: (+66) 2619 8521-2 Ext.102, (+66) 92 659 5642
 
ณิชนันท์ ตัญธนาวิทย์
Conservation Communications Officer, WWF – ประเทศไทย
อีเมลnTanthanawit@wwfgreatermekong.org
โทรศัพท์: (+66) 2619 8521-2 Ext.312, (+66) 83 816 0006
 
เกี่ยวกับ WWF
WWF คือหนึ่งในองค์กรเพื่อการอนุรักษ์ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุด และเป็นอิสระมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีผู้ให้การสนับสนุนมากกว่า 5 ล้านคน และมีเครือข่ายทำงานอยู่ในประเทศต่าง ๆ กว่า 100 ประเทศ พันธกิจของ WWF คือ ลดการบุกรุก และยับยั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของโลก พร้อมไปกับสร้างอนาคตใหม่ให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน ด้วยการอนุรักษ์ไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพของโลก สร้างหลักประกันให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ผลักดันให้ลดมลภาวะ และลดการบริโภคอย่างสิ้นเปลือง

หากต้องการรับข่าวสารและสื่อสารสนเทศล่าสุด คลิก www.wwf.or.th

เทพควิช-lnwquiz

บทความที่เกี่ยวข้อง