สัตว์ประจำชาติอาเซียนที่คุณอาจยังไม่รู้


🕑 7 ก.ค. 2561
สัตว์ประจำชาติอาเซียนที่คุณอาจยังไม่รู้

สสัตว์ประจำชาติอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ มีบางประเทศที่มีสัตว์ประจำชาติเหมือนกัน มีอะไรกันบ้างนั้นมาดูกันเลย

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับคำว่า  AEC หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กันก่อนดีกว่า

AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศได้แก่ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน  ซึ่งเป็นการร่วมกันทางเศรษฐกิจของประเทศในเขตอาเซียน เพื่อผลประโยชน์ในอำนาจการต่อรองทางเศรษฐกิจ การส่งออก และการนำเข้าของสินค้า โดยเริ่มใช้ใน พ.ศ. 2558

โดยประเทศต่าง ๆ มีสัตว์ประจำชาติเป็นอะไรกันบ้างมาดูกันเลย

สัตว์ประจำชาติอาเซียน มีดังนี้

1. สัตว์ประจำชาติของไทย คือ ช้าง

ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติไทยมาตั้งแต่โบราณ โดยในสมัยก่อนไทยมีช้างอยู่มากมายนับแสนตัว ส่วนมากช้างจะถูกใช้ในการสงครามเป็นหลัก ต่อมาเมื่อมีอาวุธสมัยใหม่เข้ามา ช้างจึงถูกนำไปใช้แรงงานจำพวกชักลากไม้ในป่าแทน หรือไม่ก็ถูกใช้ในงานการแสดงและการท่องเที่ยว ประเทศไทยเคยใช้ช้างเป็นส่วนหนึ่งของธงชาติเรียกว่าธงช้างเผือก ก่อนจะถูกเปลี่ยนมาใช้ธงไตรรงค์อย่างในปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ.2460

แต่ยังมีธงหน่วยงานราชการบางแห่งที่ใช้ใช้ช้างเป็นองค์ประกอบ เช่น ธงของราชนาวีไทย เป็นต้น

ธงราชนาวีไทย
 

2.สัตว์ประจำชาติของประเทศพม่า คือ เสือโคร่ง


 

เสือโคร่ง (Tiger) นั้นเป็นสัตว์กินเนื้อตระกูลแมวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความดุร้าย ว่องไว ปราดเปรียว สามารถวิ่งได้เร็ว ว่ายน้ำเก่ง ปีนต้นไม้ได้คล่องแคล่ว พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย และพบมากในป่าของประเทศพม่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศพม่าได้เป็นอย่างดี โบราณล่าวไว้ว่า เสือคือดัชนีวัดความอุดมสมบูรณ์ของป่า ดังนั้นเสือจึงถูกเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติพม่า

 

3.สัตว์ประจำชาติของประเทศลาว คือ ช้าง

ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติลาวเช่นเดียวกับประเทศไทย ประเทศลาวมีความผูกพันกับช้างมาตั้งแต่โบราณเช่นเดียวกับไทย และที่ตั้งของประเทศลาวในปัจจุบันนั้นในอดีตมีชื่อเรียกว่า อาณาจักรล้านช้าง ใช้ช้างในการทำศึกสงครามและในการใช้แรงงานเช่นเดียวกับประเทศไทยของเราทุกประการ ซึ่งด้วยเหตุนี้ช้างจึงถูกเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติของลาว

 

4.สัตว์ประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย คือ มังกรโคโมโด


มังกรโคโมโด สัตว์ประจำชาติของอินโดนีเชีย

มังกรโคโมโดเป็นสัตว์โบราณตะกูลตัวเงินตัวทองชนิดหนึ่ง มีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับสัตว์ในตะกูลเดียวกัน พบได้เฉพาะในประเทศอินโดนีเซียบริเวณเกาะโคโมโด รินคา, ฟลอเรส และกิลีโมตาง เป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้ายกว่าเพื่อนร่วมสายพันธุ์ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และด้วยความที่สามารถพบเห็นได้เพียงแห่งเดียวในโลกในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น มังกรโคโมโดจึงถูกเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติอินโดนีเซีย และนอกจากนี้ยังมีปลาประจำชาติ เป็นปลาตะพัดด้วยน่ะจ๊ะ

 

5.สัตว์ประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ คือ ควาย


 

ควาย (Water Buffalo) ในประเทศฟิลิปปินส์นั้น ถูกนำมาใช้แรงงานเหมือนในประเทศเวียดนาม ทั้งแรงงานในด้านการเกษตรกรรมและด้านการชักลากของหนัก ดังนั้นคนฟิลิปปินส์จึงมีความผูกพันกับควายมากเป็นอย่างมาก จนถูกเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์ ควายเรียกตามภาษาพื้นเมืองหรือภาษาตากาล็อคว่าคาราบาว และชื่อนี้ถูกนำมาใช้เป็นชื่อวงดนตรีชื่อดังของไทยและใช้รูปหัวควายเป็นสัญญลักษณ์ (หัวหน้าวงคือแอ๊ด คาราบาว จบการศึกษาจากประเทศฟิลิปปินส์)


6.เสือโคร่ง สัตว์ประจำชาติของบรูไน

เสือโคร่ง สัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่นอกจากจะได้รับการเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติของพม่าแล้ว ยังถูกเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติบรูไนอีกด้วย โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศบรูไนซึ่งมีภูเขาและป่าไม้อยู่เป็นจำนวนมาก มีประชากรไม่หน่าแน่น สัตว์ป่าจึงไม่ถูกรบกวน จึงสามารถพบเสือโคร่งสายพันธุ์เอเชียจำนวนมาก และได้ถูกเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศบรูไนในที่สุด


7.สิงโต สัตว์ประจำชาติของสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ เดิมมีชื่อว่าเมืองสิงหปุระ (Singapura) ซึ่งหมายถึงเมืองแห่งสิงโต แต่ไม่มีรายงานการพบสิงโตอยู่ตามธรรมชาติในประเทศสิงคโปร์เลย เนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่มีป่าไม้หรือทุ่งหญ้าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสิงโต มีแต่เรื่องเล่าที่ว่ามีผู้เคยพบเห็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายสิงโตอยู่บนดินแดนแห่งนี้เท่านั้น แต่กระนั้นสิงโตก็ยังได้รับเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติสิงคโปร์

 
 

8.สัตว์ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย คือ เสือโคร่งมลายู

เสือโคร่งมาลายูเป็นสัตว์ตะกูลเสือโคร่งที่มีลักษณะเฉพาะ มีขนาดใหญ่และมีความแข็งแรงมาก พบมากทางภาคกลางของประเทศมาเลเซียและสามารถพบได้ในป่าดิบชื้นของประเทศเช่น เพนนิซูล่า กลันตัน ตรังกานู เประ ปะหัง และป่าตอนใต้สุดของไทยที่ติดกับชายแดนมาเลเซีย นอกจากเสือโคร่งมลายูจะเป็นสัตว์ประจำชาติมาเลเซีย ยังปรากฏอยู่ในตราสัญญลักษณ์ของประเทศ และเรานิยมเรียกคนมาเลย์และทีมกีฬาของมาเลเซียว่าทีมเสือเหลืองอีกด้วย ซึ่งคำว่าเสือเหลืงหมายถึงเสือโคร่งมลายูนั่นเอง

 

9.สัตว์ประจำชาติของประเทศเวียดนาม คือ ควาย


ประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่ปลูกข้าวรายใหญ่ประเทศหนึ่งของโลก และการปลูกข้าวของชาวเวียดนามนั้นยังนิยมใช้ควายในการไถนาอยู่ ดังนั้นวิถีชีวิตของคนเวียดนามจึงผูกพันกับควายมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น โดยที่ควายนั้นจะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศเวียดนาม (เช่นเดียวกับประเทศไทยในสมัยที่ยังนิยมใช้ควายไถนานั่นเอง) ดังนั้นควายจึงถูกยกขึ้นเป็นสัตว์ประจำชาติเวียดนาม

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับสัตว์ประจำชาติอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เพื่อนๆทายถูกกันกี่ประเทศครับ…

 

10. สัตว์ประจำชาติของกัมพูชา คือ กูปรี

กูปรี  © WWF / Helmut Diller
© WWF / Helmut Diller

 

กูปรี หรือ โคไพร (Bos sauveli) เป็นสัตว์จำพวกกระทิงและวัวป่า เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวโต โคนขาใหญ่ ปลายหางเป็นพู่ขน

ปัจจุบันกูปรีอยู่ในสถานะสูญพันธุ์ โดยไม่มีรายงานการพบกูปรีในป่าธรรมชาติมานานหลายสิบปีแล้ว แต่นักอนุรักษ์ส่วนใหญ่เชื่อว่าจะยังสามารถพบกูปรีได้ตามป่าชายแดนไทยและกัมพูชา (แต่ไม่เคยมีรายงานยืนยัน) กูปรีถูกประกาศให้เป็นสัตว์ประจำชาติกัมพูชาโดยสมเด็จเจ้านโรดมสีหนุอดีตกษัตริย์ของกัมพูชา นอกจากกูปรีจะเป็นสัตว์ประจำชาติของกัมพูชาแล้ว ยังพบว่ากูปรียังเป็นส่วนหนึ่งของตราสัญญลักษณ์ของ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์อีกด้วย

 

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับข้อมูลสัตว์ประจำชาติอาเซียน ไว้วันหลังจะมาอัพเดตสัตว์ประจำชาติในเอชียให้อ่านกันน่ะครับไว้ติดตามกันเลย

ขอบคุณข้อมูลจาก https://th.wikipedia.orgและ รูปภาพจาก https://pixabay.com

เทพควิช-lnwquiz